วิธีเช็คระยะประจำเดือน และทำความรู้จักวงจรการมีประจำเดือน (Menstrual Cycle) มากขึ้น

วิธีเช็คระยะประจำเดือน รู้จักวงจรการมีประจำเดือน (Menstrual Cycle)

การมีประจำเดือนของผู้หญิงเรานั้น แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยแต่ระยะจะมีระดับฮอร์โมนที่แตกต่างกัน พลังงานที่มี และ การต้องการโภชนาการที่ต่างกันด้วย

ข้อดีข้องการเช็คระยะประจำเดือน

"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"

ถ้าเราเข้าใจแต่ละระยะของวงจรการมีประจำเดือน เราก็จะสามารถที่จะเข้าใจว่า เราควรเตรียมร่างกายอย่างไรให้พร้อมรับมือ เพื่อให้เราผ่านแต่ละระยะ (Phase) ได้อย่างสบายกายและสบายใจที่สุดนั่นเอง!

* ระยะเวลาของแต่ละระยะเป็นการประมาณโดยเฉลี่ยเท่านั้น โดยระยะของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน

Menstrual Cycle ระยะประจำเดือน

1. The Menstrual Phase ช่วงเมนส์มา (วันที่ 1 - 7)

ระยะประจำเดือนของคุณเริ่มต้นที่การที่ประจำเดือนมา โดยปกติแล้วเลือดประจำเดือนจะหลั่งหลายวัน - 1 สัปดาห์ โดยวันแรกที่เลือดหลั่งหมายความว่าคุณนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือหมายความว่าไข่ของคุณที่ตกไปไม่ได้ถูกผสมนั่นเอง

ปกติแล้วประจำเดือนจะหลั่ง 3-7 วัน โดยเลือดจะไหลเยอะสุด 1-2 วันแรก

อาหารที่แนะนำ: ซุปหรือชาร้อน ๆ
การออกกำลังกายที่แนะนำ: โยคะเบา ๆ และพักผ่อนมาก ๆ
อย่าลืมทาน P-WELL+: จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อมดลูก และบรรเทาอาการปวดและท้องอืด

การออกกำลังกายระยะประจำเดือน PMS วงจรประจำเดือน Menstrual Cycle

2. The Follicular Phase หลังเมนส์หมด (วันที่ 8 - 13)

ระยะหลังจากประจำเดือนหมด จะเป็นช่วงที่ร่างกายคุณเริ่มที่จะผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ หรือที่เรียกว่า Follicle-Stimulating Hormone (FSH) ที่จะเป็นตัวการบอกรังไข่คุณให้เริ่มปล่อยไข่

ระยะนี้จะอยู่ประมาณ 7-10 วัน

อาหารที่แนะนำ: ข้าวโอ๊ต, ผักโขม, มันหวาน ที่อุดมไปด้วยวิตามิน B, แมกนีเซียม และธาตุเหล็กที่จะช่วยซัพพอร์ตร่างกายหลังเมนส์มา
การออกกำลังกายที่แนะนำ: กระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมด้วย Cardio เช่นการวิ่งหรือว่ายน้ำ
อย่าลืมทาน P-WELL+: รวบรวมวิตามินที่ผู้หญิงต้องการในระยะนี้

การออกกำลังกายระยะประจำเดือน PMS วงจรประจำเดือน Menstrual Cycle

3. The Ovulatory Phase ช่วงไข่ตก (วันที่ 14 - 21)

ช่วงไข่ตกจะอยู่ประมาณ 3-5 วัน โดยระยะนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ทำให้ไข่ตก จากนั้นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะพุ่งสูงขึ้นและลดต่ำลง

อาหารที่แนะนำ: อาหารให้โปรตีนและไฟเบอร์สูงเช่น เนื้อปลา อะโวคาโด นม
การออกกำลังกายที่แนะนำ: ช่วงนี้คุณจะมีพลังงานสูงมาก สามารถยกน้ำหนัก HIIT หรือ Cycling ต่อยมวย
อย่าลืมทาน P-WELL+: จะช่วยเติมเต็มวิตามิน แร่ธาตุจากการสูญเสียพลังงาน ช่วยทำให้ระดับพลังงานอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ให้เหนื่อยล้าและกล้ามเนื้อชา

การออกกำลังกายระยะประจำเดือน PMS วงจรประจำเดือน Menstrual Cycle

4. The Luteal Phase ช่วงก่อนมีประจำเดือน (วันที่ 22-28)

ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีระยะยาวที่สุด อยู่ประมาณ 10-14 วัน ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น และจะเกิดอาการ PMS (Premenstrual Syndrome) หรืออาการก่อนประจำเดือน เช่น อารมณ์แปรปรวน ท้องอืด ปวดหัว กล้ามเนื้อชา ซึ่งจะเกิดก่อนประจำเดือนมาประมาณ 3-7 วัน

อาหารที่แนะนำ: ผักใบเขียว, เบอร์รี่ เพื่อเตรียมความพร้อมประจำเดือนรอบถัดไป
การออกกำลังกายที่แนะนำ: ช่วงนี้คุณจะต้องเตรียมพร้อมเน้นออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเช่น Pilates, ยืดกล้ามเนื้อ, เดินชัน
อย่าลืมทาน P-WELL+: จะช่วยเติมเต็มวิตามิน แร่ธาตุที่ผู้หญิงต้องการในระยะนี้ ช่วยลดความเครียดกังวล ทำให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นและระบบย่อยอาหารดีขึ้น

การออกกำลังกายระยะประจำเดือน PMS วงจรประจำเดือน Menstrual Cycle

อ้างอิง:

  1. Bowen, D. J., & Grunberg, N. E. (1990). Variations in food preference and consumption across the menstrual cycle. Physiology & behavior, 47(2), 287-291.
  2. Bryant, M., Truesdale, K. P., & Dye, L. (2006). Modest changes in dietary intake across the menstrual cycle: implications for food intake research. British journal of nutrition, 96(5), 888-894.
  3. Chiazze, L., Brayer, F. T., Macisco, J. J., Parker, M. P., & Duffy, B. J. (1968). The length and variability of the human menstrual cycle. Jama, 203(6), 377-380.
  4. Hawkins, S. M., & Matzuk, M. M. (2008). The menstrual cycle: basic biology. Annals of the New York Academy of Sciences, 1135(1), 10-18.

ฉีก ชง ดื่ม
บอกลามนุษย์เมนส์

วิตามินสูตร PMS เจ้าแรกในไทย